Saturday, 11 May 2024
LITE TEAM

9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ‘ไทย-ฝรั่งเศส’ ลงนามอนุสัญญาสันติภาพระหว่างกัน ณ กรุงโตเกียว ทำให้ไทยได้ดินแดนบางส่วนกลับคืน หลังสิ้นสุดข้อพิพาทสงครามอินโดจีน

วันนี้ในอดีต เมื่อ 83 ปีก่อน ไทยกับฝรั่งเศส ลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างกันที่กรุงโตเกียว หลังสิ้นสุดกรณีพิพาทสงครามอินโดจีน เป็นผลทำให้ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ ศรีโสภณ พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชาคืนมาจากฝรั่งเศส

แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ไทยมีความจำเป็นต้องเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ จึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศมหาอำนาจและฝรั่งเศสที่เป็นฝ่ายชนะสงคราม นำไปสู่ความตกลงระงับกรณีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่เรียกกันว่า 'ความตกลงวอชิงตัน' มีผลให้อนุสัญญากรุงโตเกียวสิ้นสุดลง โดยไทยต้องคืนดินแดน อินโดจีน ที่ได้มาทั้งหมดให้กับประเทศฝรั่งเศสตามเดิม

ทั้งนี้ เพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งมีผู้เสียชีวิต จึงมีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้นจนถึงในปัจจุบัน

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ครบรอบ 138 ปี เครื่องดื่ม 'Coca-Cola’ น้ำดำสุดซ่าที่ครองใจลูกค้าทั่วโลก

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 เครื่องดื่ม 'Coca-Cola' หรือ 'Coke' สูตรต้นตำรับถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา โดยเภสัชกร ดร.จอห์น สติชท์ เพมเบอร์ตัน โดยเภสัชกรรายนี้เป็นผู้ผลิตหัวเชื้อน้ำหวาน

โดยมีเรื่องเล่ากันต่อมาว่า เมื่อ ดร.เพมเบอร์ตัน ปรุงหัวเชื้อน้ำหวานขึ้นมาได้สำเร็จในหม้อทองเหลืองสามขา ซึ่งตั้งอยู่ในสนามหญ้าหลังบ้านของเขา ก็รีบถือเหยือกที่บรรจุน้ำหวานรสชาติใหม่ มุ่งตรงไปยังร้านขายยาชื่อ ‘จาค็อป’ และ ณ ที่นั่นเอง หลายต่อหลายคน ได้ลิ้มลองน้ำหวานของ ดร.เพ็มเบอร์ตัน ต่างก็ชมเป็นเสียงเดียวกันว่ารสชาติเยี่ยม หลังจากนั้นไม่นาน ดร.เพมเบอร์ตัน ก็เริ่มปรุงเครื่องดื่มชนิดนี้ขายที่ร้าน ‘จาค็อป’ โดยคิดราคาแก้วละ 5 เซ็นต์ และโฆษณาว่าเป็นยาบำรุงสมองและประสาท แก้ปวดหัวและอาการเมาค้าง ในครั้งนั้นยังไม่มีส่วนผสมของโซดา ปรากฏว่าขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ต่อมาหุ้นส่วนและสมุห์บัญชีของเขา ได้ตั้งชื่อเครื่องดื่มว่า 'Coca-Cola' เพราะใช้ส่วนผสมหลักมาจากใบของต้นโคคาและลูกโคลา ต่อมาได้มีการผสมโซดาลงไปด้วย เรียกว่า น้ำอัดลม และเติมกาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นให้เกิดความสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า ส่วนใบโคคาก็เลิกใช้แล้ว เนื่องจากเป็นแหล่งวัตถุดิบของยาเสพติดประเภทโคเคน

ปัจจุบัน 'Coca-Cola' เป็นเครื่องดื่มประเภทที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในเครื่องหมายการค้าที่มีคนจดจำได้มากที่สุด 

6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ‘ในหลวง ร.9’ เสด็จฯ เปิด ‘สระสุวรรณชาด’ ม.เกษตรศาสตร์ โครงการช่วยบำบัด-ฟื้นฟู ‘สุนัข’ ให้พ้นจากอาการเจ็บป่วย

‘สระสุวรรณชาด’ โครงการจากทุนพระราชทานของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อรักษาสุนัขป่วย

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์พร้อมด้วย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดสระสุวรรณชาด ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ทรงพา ‘คุณทองแดง’ สุนัขทรงเลี้ยง มาร่วมในพิธีด้วย

ทั้งนี้ ‘สระสุวรรณชาด’ เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณในล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ที่ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเป็น สระว่ายน้ำสำหรับการรักษาแบบธาราบำบัด ให้สุนัขที่ป่วยด้วยโรคข้อกระดูก และโรคระบบประสาท จำนวน 2 สระ ซึ่งพระองค์พระราชทานเงินรายได้จากการจำหน่ายเสื้อคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง จำนวน 2,131,351 บาท พร้อมทั้งพระราชทานชื่อสระว่ายน้ำว่า ‘สระสุวรรณชาด’ ตามชื่อของคุณทองแดงด้วย

โดยสระว่ายน้ำสุวรรณชาดเริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานคำแนะนำในการออกแบบตามหลักวิชาการ และได้ใช้สระว่ายน้ำของสุนัขทรงเลี้ยงมาเป็นต้นแบบ ซึ่งการก่อสร้างแล้วเสร็จราวปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 โดยแบ่งโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสระว่ายน้ำ ขนาด 15.35 เมตร X 3.80 เมตร มีความลึก 1.50 เมตร สำหรับสุนัขทั่วไปที่ต้องการออกกำลังกาย

และส่วนสระกายภาพบำบัด ขนาด 2.35 เมตร X 3.8 เมตร ลึก 1.50 เมตร ส่วนนี้จะประกอบไปด้วยหัวพ่นฟองอากาศจำนวน 4 หัว เพื่อให้เกิดการนวดตามกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและกระตุ้นระบบประสาทที่มีปัญหา โดยมีรอกที่ใช้ในการพยุงตัวสัตว์ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ส่วนนี้สำหรับสุนัขที่เป็นโรคข้อสะโพกหลวม โรคกระดูก หรือสุนัขที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น

ทั้งนี้ การบำบัดและฟื้นฟูสัตว์ที่สระว่ายน้ำแห่งนี้จะมีสัตวแพทย์คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งพิจารณาอาการเจ็บป่วยของแต่ละตัวว่าเหมาะสมที่จะรักษาด้วยวิธีธาราบำบัดนี้หรือไม่

3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 'องค์การสหประชาชาติ' กำหนดให้เป็น 'วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก' ปกป้องสิทธิเสรีภาพ-ความปลอดภัยในการแสดงออกของสื่อมวลชน

3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้เสนอให้สมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น 'วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก' (World Press Freedom Day) เพื่อย้ำเจตนารมณ์และหลักการที่เป็นพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการคิดและการแสดงออก เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้เสนอข้อเท็จจริงโดยเสรีและปลอดภัย เพราะในระยะหลัง ๆ นักข่าวที่ลงพื้นที่ภาคสนามได้มีจำนวนผู้เสียชีวิต ถูกจับเป็นตัวประกัน และถูกจับกุมเพิ่มมากขึ้น 

ต่อมาจึงได้ถือเอาวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น 'วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก' เพื่อระลึกถึงข้อปฏิบัติว่าด้วยเสรีภาพสื่อ และเพื่อเป็นการปกป้องนักข่าวที่ถูกโจมตีเพียงเพราะพวกเขาทำหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น ซึ่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกนั้นถือเป็นงานที่หนักพอสมควร

29 เมษายน วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2548 เวลา 18.35 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี ขณะยังเป็นพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์มีพระเชษฐภคินีต่างพระมารดา 2 พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

คณะแพทย์ถวายพระประสูติโดยการผ่าตัด เมื่อแรกประสูติ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติทรงมีน้ำหนัก 2,680 กรัม ความยาวพระองค์ 47 เซนติเมตร รอบพระเศียร 31 เซนติเมตร ลืมพระเนตรเวลา 19.00 น. มีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง พระเนตรโต พระนาสิกโด่ง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชหัตถเลขาขนานพระนามว่า ‘พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ’ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และพระราชทานเสมาอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.ทองคำ ส่วนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชตินั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระมหากรุณาธิคุณอธิบายพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ว่า ‘ผู้ทำประทีปคือปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้ง, ผู้ทำเกาะคือที่พึ่งให้รุ่งเรืองโชติช่วง’

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เขียนพระนามของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เป็นภาษาอังกฤษว่า ‘His Royal Highness Prince Dipangkorn Rasmijoti’

28 เมษายน พ.ศ. 2493 วันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส ’ในหลวง ร.9 - สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง‘ นับเป็นครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทย ที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

เมื่อวันที่ 28 เมษายน เป็นวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นับเป็นอีกวันหนึ่ง ที่สำคัญยิ่งที่ทั้งสองพระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 อันเป็นครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

ย้อนหลังไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ระหว่างที่ประทับอยู่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บที่พระเนตร เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ทรงได้รับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลในเมืองโลซานน์ โดยมีหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ที่ทรงพบก่อนหน้านั้นถวายการพยาบาลอยู่ด้วย

ต่อมาได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (ขณะนั้นคือ พันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซานน์

และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม อีกทั้งยังทรงให้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยอีกด้วย ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย

พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดทะเบียนสมรสเป็นพระองค์แรก และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ได้ลงนามในสมุดเป็นบุคคลที่สองในฐานะคู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะนั้นเจ้าสาวยังมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองก่อนตามกฎหมาย ดังนั้นหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร พระบิดาของเจ้าสาวจึงต้องลงพระนาม แสดงความยินยอมและรับรู้ในการจดทะเบียนสมรสครั้งนี้ด้วย

ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์แก่สมเด็จพระราชินีในโอกาสนี้ด้วย

นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้เข้าร่วมพิธีจะได้รับพระราชทานของที่ระลึก คือ หีบเงินเล็ก ซึ่งบนฝาหีบประดับด้วยอักษรพระบรมนามาภิไธย และพระนามาภิไธย

ทั้งนี้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีต่ออาณาประชาราษฎร์ ก็ได้ถ่ายทอดมายังพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงงานร่วมกันต่อเนื่องมามิได้ขาด

27 เมษายน พ.ศ. 2382 ‘ในหลวง ร.3’ โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ ‘พระบรมราชโองการห้ามสูบ-ค้าฝิ่น’ นับเป็นเอกสารทางราชการฉบับแรก ที่ใช้วิธีการพิมพ์ด้วยตัวอักษรไทย

ฝิ่นนับเป็นพืชที่เป็นสารเสพติดและมอมเมาผู้คนมาหลายยุคหลายสมัย รวมถึงประเทศไทยเองก็เคยถูกมอมเมาด้วย ‘ฝิ่น’ ทำให้พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ หาทางปราบปรามและป้องกัน การค้า การสูบฝิ่นมาโดยตลอด

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 3 เองก็ได้ทรงตระหนักถึงพิษภัยของฝิ่น ทำให้ในช่วงปีพุทธศักราช 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกวดขัน กวาดล้างการค้าฝิ่นครั้งใหญ่ ทั้งปราบปรามผู้เสพติดอย่างหนัก ริบฝิ่นในปริมาณมาก และโปรดให้รวมนำมาเผาทำลายที่สนามไชย หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2382

นอกจากการปราบปรามอย่างจริงจังแล้วพระองค์ยังได้ออก ‘พระบรมราชโองการห้ามสูบและค้าฝิ่น’ โดยในวันนี้ 27 เมษายน พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน พิมพ์พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง ห้ามสูบฝิ่นและค้าฝิ่น เป็นใบปลิวจำนวน 9,000 ฉบับ

ซึ่ง ‘พระบรมราชโองการห้ามสูบและค้าฝิ่น’ นี้จึงนับเป็นเอกสารทางราชการฉบับแรกที่ใช้วิธีการพิมพ์ด้วยตัวอักษรไทย และพิมพ์โดยโรงพิมพ์ในประเทศสยาม โดยสั่งซื้อตัวพิมพ์มาจากประเทศสิงคโปร์

19 เมษายน พ.ศ. 2509 ‘ในหลวง ร.9’ ทรงแล่นเรือใบ ‘เวคา’ ด้วยลำพังพระองค์เอง ใช้เวลา 17 ชั่วโมง เพื่อเสด็จข้ามอ่าวไทยสู่อ่าวนาวิกโยธิน

เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงแล่นใบ ประเภทโอเค (International O.K. Class) ชื่อเรือ ‘เวคา’ ด้วยลำพังพระองค์เอง จากพระราชวังไกลกังวล อําเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกเดินทางข้ามอ่าวไทยมายังอ่าวนาวิกโยธิน รวมระยะทาง 60 ไมล์ทะเล ใช้เวลาในการแล่นใบ 17 ชั่วโมงเต็ม เมื่อเสด็จถึงทรงฉลองพระองค์ชุดสนามทหารนาวิกโยธิน โดยได้ทรงนําธงราชนาวิกโยธิน ที่ทรงนําข้ามอ่าวไทยมาด้วย ปักเหนือก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวนาวิกโยธิน และหลังจากทรงปักธงราชนาวิกโยธินแล้ว พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธย บนแผ่นศิลาจารึก

หลังจากนั้นเสด็จประทับเรือพระที่นั่งจันทร ข้ามอ่าวไทยกลับพระราชวังไกลกังวล ต่อมาในปีเดียวกันได้พระราชทานหางเสือเรือพระที่นั่งเวคา ที่ทรงแล่นใบข้ามอ่าวไทย เพื่อเป็นรางวัลนิรันดร แก่ผู้ชนะเลิศใน การแข่งขันเรือใบข้ามอ่าวไทยประจําปีของสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นตัวแทนของนักกีฬาทีมชาติไทย เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ทรงชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเรือใบประเภทโอเค ในรายการแข่งขันระดับนานาชาติ และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทอง ยังความปลาบปลื้มใจแก่ชาวไทยโดยทั่วกัน ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของชาติด้านการกีฬาของประเทศไทย ต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันกีฬาแห่งชาติ ตราบจนปัจจุบัน

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล ประจำวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

รางวัลที่ 1 : 943598

เลขหน้า 3 ตัว : 729 / 727

เลขท้าย 3 ตัว : 154 / 200

เลขท้าย 2 ตัว : 79

รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 : 943597 / 943599

รางวัลที่ 2 : 062259 / 100755 / 297933 / 448213 / 282285

รางวัลที่ 3 : 788457 / 147563 / 018772 / 773313 / 734269 / 454577 / 720144 / 267940 / 595074 / 665998

รางวัลที่ 4 : 133343 / 863195 / 727091 / 194615 / 972561 / 040459 / 514761 / 745069 / 924865 / 101738 / 261565 / 879972 / 666284 / 256511 / 299820 / 882048 / 985476 / 740276 / 911165 / 145541 / 876132 / 397217 / 001228 / 311765 / 095714 / 449523 / 465845 / 971568 / 651025 / 131029 / 300839 / 775119 / 998458 / 419267 / 236113 / 033439 / 579570 / 385255 / 408301 / 719958 / 599692 / 161787 / 721757 / 071875 / 976687 / 705082 / 068452 / 842015 / 616783 / 475389

รางวัลที่ 5 : 646104 / 53413 / 996997 / 556347 / 653726 / 322555 / 236948 / 234248 / 536503 / 616068 / 531320 / 092288 / 692070 / 383482 / 616761 / 019836 / 650707 / 175313 / 081630 / 106078 / 772486 / 936704 / 263801 / 631424 / 549465 / 744261 / 175392 / 209708 / 614633 / 906751 / 008649 / 560631 / 314231 / 271470 / 172715 / 197190 / 769576 / 433446 / 680808 / 299159 / 306461 / 751072 / 182425 / 088983 / 996353 / 411758 / 179497 / 752050 / 277674 / 756546 / 803498 / 129309 / 562888 / 644959 / 193111 / 862993 / 898212 / 598986 / 120489 / 104180 / 116314 / 893211 / 442322 / 106160 /040197 / 087920 / 182825 / 869716 / 454174 / 549714 / 079611 / 732916 / 323067 / 147982 / 063690 / 215548/ 341167 / 949675 / 061659 / 381378 / 957591 / 100329 / 218351 / 737012 / 876637 / 070320 / 622334 / 237941 / 657266 / 342931 / 464986 / 960034 / 851456 / 972601 / 424276 / 045170/ 814109 / 964814 / 690806 / 487179

15 เมษายน พ.ศ. 2455 โศกนาฏกรรมสุดเศร้า ‘ไททานิค’ จมดิ่งสู่ก้นมหาสมุทรแอตแลนติก หลังปะทะกับภูเขาน้ำแข็ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต-สูญหายจำนวนมาก

เรือที่ได้ชื่อว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ในเวลานั้น เดินทางออกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร มุ่งหน้าสู่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะจมดิ่งสู่มหาสมุทรแอตแลนติก หลังปะทะกับภูเขาน้ำแข็ง เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455

อาร์เอ็มเอส ไททานิค (RMS Titanic) เป็นเรือโดยสารเดินทางเที่ยวแรกจากเซาท์แทมป์ตัน สหราชอาณาจักร ไปนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การจมของไททานิค เป็น 1 ใน 3 เรือโดยสารชั้นโอลิมปิก ซึ่งดำเนินการโดยไวต์สตาร์ไลน์ สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2452-2454 เป็นเรือที่ได้รับการออกแบบให้มีความสะดวกสบายและความหรูหราที่สุด โดยบนเรือมียิมเนเซียม สระว่ายน้ำ ห้องสมุด ภัตตาคารชั้นสูงและห้องจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีโทรเลขไร้สายทรงพลังซึ่งจัดเตรียมไว้เพื่อความสะดวกของผู้โดยสาร 

ก่อนที่ไททานิคจะออกเดินทาง ได้เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณส่วนเก็บถ่านหินที่ บล็อก 5 และ 6 และไฟยังไหม้ต่อเนื่องตลอดการเดินทาง ส่งผลให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ก่อนถึงห้องเครื่อง และ ส่วนที่เก็บถ่านหินนั้นร้อนมากจนผนังกั้นนํ้าร้อนจนแดง และตัวเหล็กของผนังกั้นนํ้าบิด งอ ลดการทนทานนํ้าลง

ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2455 เมื่อเดินทางห่างจากเซาท์แทมป์ตันไปทางใต้ราว 600 กิโลเมตร ไททานิค เกิดอุบัติเหตุชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง ทำให้แผ่นลำเรือเกิดความเสียหาย จนนํ้าทะลักเข้าไปในเรือ และเนื่องจากผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้จากห้องเก็บถ่านหิน ส่งผลให้นํ้าทะลักเข้ามาภายในตัวเรือ จนกระทั่งเรือจมลงสู่ก้นมหาสมุทรในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455

เหตุการณ์นี้เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโศกนาฏกรรมที่สูญเสียเป็นอย่างมาก สมาชิกลูกเรือและผู้โดยสารมากมายต้องเสียชีวิตและสูญหาย นับเป็นภัยพิบัติทางทะเลที่มีผู้เสียชีวิตมากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top